เชื่อเหลือเกินว่า ทุกๆคน อยากมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังในชีวิต
จะหลังใหญ่ หลังเล็ก จะสไตล์ไหน ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเฉพาะบุคคล
เช่น งบประมาณ ขนาดหรือ จำนวนสมาชิกในครอบครัว
ในที่นี้ จะขอกล่าวถึง ท่านที่ต้องการจะปลูกบ้านสักหลัง
แต่ไม่รู้จะ เริ่มต้น อย่างไร ลองติดตาม บทความในบล็อกนี้
ดูนะครับ เผื่อว่าจะมีข้อมูล อะไร ที่จะพอช่วยเหลือท่านได้บ้าง
ลองติดตามดู นะครับ
(ท่านสามารถ ฝากคำถาม คำติชม ข้อเสนอแนะ ในท้ายบทความได้ครับ
เรื่องไหนที่ผมไม่ทราบ ผมจะค้นคำตอบมาให้ เพื่อพัฒนาตัวผมเองด้วยครับ)

วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง

วัสดุก่อสร้างในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างมากมาย ทั้งที่มีวัตถุประสงค์ในการทดแทนวัสดุจากธรรมชาติ และเพื่อความสะดวกในการใช้งาน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุในงานตกแต่งเช่น
ไม้สังเคราะห์ รูปแบบต่าง ผนังไม้สังเคราะห์ พื้นไม้สังเคราะห์ รวมไปถึง วัสดุ อลูมิเนียม และ pvc
ที่เข้ามาทดแทน ประตู-หน้าต่าง ไม้ แม้กระทั่ง งานโครงสร้าง ยังพัฒนาเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูป เพื่อความ
รวดเร็วในการ ก่อสร้าง ซึ่งเหมาะกับงานโครงการ และที่พบเห็นกันทั่วไปแต่อาจจะไม่ได้สังเกต คือพวก
โครงสร้างสะพาน ทั่วๆไป ที่นี้ เราลองมา ทำความรู้จัก กับวัสดุ แต่ละชนิด นะครับ

หมวดงานระบบ(อื่นๆ)

นอกเหนือจากงาน ระบบทั้ง 2 ระบบที่กล่าวมาแล้ว ยังมีงานระบบอื่นๆ อีก
ซึ่ง มีดังนี้ครับ
1/ งานระบบ โทรศัพท์
2/ งานระบบ สายสัญญาณ ทีวี
3/ งานระบบ สายแลน
4/ งานระบบ ปรับอากาศ
5/ งานระบบ ปั๊มน้ำ
6/ งานระบบ ท่อกำจัดปลวก
7/ งานระบบ สัญญาณกันขโมย
แต่และระบบ ก็จะมีรายละเอียด ปลีกย่อย ต่างๆอีกมาก
ในที่นี้คงจะไม่เข้าไปเจาะลึก อะไรมาก เพียงแต่จะแนะนำ ว่ามีระบบอะไรบ้างเท่านั้น

หมวดงานระบบ(ไฟฟ้า)

งานระบบไฟฟ้า คือการกำหนดจุดและจำนวนของ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
เช่น ระบบ ปลั๊ก แสงสว่าง ระบบปรับอากาศ ปั๊มน้ำ โดยจะรวบรวม
จุดจ่ายไฟฟ้าทั้งหมด และจะมีการกำหนด วงจรไฟฟ้า เป็นกลุ่ม เพื่อเข้าสู่แผงวงจรย่อย
แต่ละตัวอีกครั้ง เช่น ระบบปลั๊ก ชั้น1 ระบบปลั๊ก ชั้น2 ระบบแสงสว่างชั้น1 ระบบแสงสว่างชั้น2
ระบบปรับอากาศ ระบบปั๊มน้ำ เป็นต้น
ส่วนขนาดของสายไฟ สำหรับ ที่จะจ่ายไฟฟ้าไปยังจุดต่างๆ สามารถเช็ค
ได้จากมาตรฐาน ของการไฟฟ้า
ในปัจจุบัน การเดินสายไฟ ที่นิยมกันจะมี 2 แบบคือ
1/ แบบ เดินลอยตีกิ๊ป แบบนี้จะเห็น สายไฟ วิ่งเกาะผนังเป็นแผง
ส่วนใหญ่จะเป็น อาคารที่ต้องการประหยัดต้นทุน ค่าท่อ
2/ แบบ ร้อยท่อฝังผนัง แบบนี้เจ้าของอาคาร จะต้องสรุป ตำแหน่งของ
จุดจ่ายไฟฟ้าแต่ละจุดให้ชัดเจน ก่อนที่จะมีการฉาบปูนผนัง
เพราะการเพิ่ม ในภายหลัง ต้องสกัดผนังและฉาบใหม่ ทำให้ผิวปูนฉาบ
มีรอยซ่อม ไม่สวยงาม