เชื่อเหลือเกินว่า ทุกๆคน อยากมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังในชีวิต
จะหลังใหญ่ หลังเล็ก จะสไตล์ไหน ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเฉพาะบุคคล
เช่น งบประมาณ ขนาดหรือ จำนวนสมาชิกในครอบครัว
ในที่นี้ จะขอกล่าวถึง ท่านที่ต้องการจะปลูกบ้านสักหลัง
แต่ไม่รู้จะ เริ่มต้น อย่างไร ลองติดตาม บทความในบล็อกนี้
ดูนะครับ เผื่อว่าจะมีข้อมูล อะไร ที่จะพอช่วยเหลือท่านได้บ้าง
ลองติดตามดู นะครับ
(ท่านสามารถ ฝากคำถาม คำติชม ข้อเสนอแนะ ในท้ายบทความได้ครับ
เรื่องไหนที่ผมไม่ทราบ ผมจะค้นคำตอบมาให้ เพื่อพัฒนาตัวผมเองด้วยครับ)

หมวดงานระบบ(อื่นๆ)

นอกเหนือจากงาน ระบบทั้ง 2 ระบบที่กล่าวมาแล้ว ยังมีงานระบบอื่นๆ อีก
ซึ่ง มีดังนี้ครับ
1/ งานระบบ โทรศัพท์
2/ งานระบบ สายสัญญาณ ทีวี
3/ งานระบบ สายแลน
4/ งานระบบ ปรับอากาศ
5/ งานระบบ ปั๊มน้ำ
6/ งานระบบ ท่อกำจัดปลวก
7/ งานระบบ สัญญาณกันขโมย
แต่และระบบ ก็จะมีรายละเอียด ปลีกย่อย ต่างๆอีกมาก
ในที่นี้คงจะไม่เข้าไปเจาะลึก อะไรมาก เพียงแต่จะแนะนำ ว่ามีระบบอะไรบ้างเท่านั้น

หมวดงานระบบ(ไฟฟ้า)

งานระบบไฟฟ้า คือการกำหนดจุดและจำนวนของ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
เช่น ระบบ ปลั๊ก แสงสว่าง ระบบปรับอากาศ ปั๊มน้ำ โดยจะรวบรวม
จุดจ่ายไฟฟ้าทั้งหมด และจะมีการกำหนด วงจรไฟฟ้า เป็นกลุ่ม เพื่อเข้าสู่แผงวงจรย่อย
แต่ละตัวอีกครั้ง เช่น ระบบปลั๊ก ชั้น1 ระบบปลั๊ก ชั้น2 ระบบแสงสว่างชั้น1 ระบบแสงสว่างชั้น2
ระบบปรับอากาศ ระบบปั๊มน้ำ เป็นต้น
ส่วนขนาดของสายไฟ สำหรับ ที่จะจ่ายไฟฟ้าไปยังจุดต่างๆ สามารถเช็ค
ได้จากมาตรฐาน ของการไฟฟ้า
ในปัจจุบัน การเดินสายไฟ ที่นิยมกันจะมี 2 แบบคือ
1/ แบบ เดินลอยตีกิ๊ป แบบนี้จะเห็น สายไฟ วิ่งเกาะผนังเป็นแผง
ส่วนใหญ่จะเป็น อาคารที่ต้องการประหยัดต้นทุน ค่าท่อ
2/ แบบ ร้อยท่อฝังผนัง แบบนี้เจ้าของอาคาร จะต้องสรุป ตำแหน่งของ
จุดจ่ายไฟฟ้าแต่ละจุดให้ชัดเจน ก่อนที่จะมีการฉาบปูนผนัง
เพราะการเพิ่ม ในภายหลัง ต้องสกัดผนังและฉาบใหม่ ทำให้ผิวปูนฉาบ
มีรอยซ่อม ไม่สวยงาม

หมวดงานระบบ(ไฟฟ้า)

หมวดงานระบบ(ประปา-สุขาภิบาล)

ระบบ ประปา-สุขาภิบาล คืองานระบบที่ดึงน้ำดี หรือน้ำประปาเข้ามาใช้ในบ้าน
เรือนหรืออาคาร ตามจุดต่างๆที่กำหนด เช่น ในห้องน้ำ ลานซักล้าง
ส่วนระบบ สุขาภิบาล คือการนำ น้ำเสียและสิ่งโสโครก ต่างๆ ออกจากตัวอาคาร
แต่งานระบบ สุขาภิบาลนั้นจะแยก ทิ้งน้ำที่ใช้ทั่วไปกับน้ำทิ้งจากชักโครก จากกัน
โดยน้ำทิ้งจากชักโครกนั้น จะถูกส่งไปยัง ถังบำบัดน้ำเสีย หรือที่เรียกกันจนติด
ปากว่า ถังแซท โดยเจ้าถังนี้จะทำให้เกิดการตกตะกอนของกาก ภายในถังก่อน
จะส่งน้ำ ที่แยกตะกอนแล้วออกไปสู่ท่อระบายน้ำทิ้งอีกครั้ง ในสมัยก่อน จะใช้
ระบบที่เรียกว่า บ่อเกรอะ-บ่อซึม ซึ่งพอกากเต็ม ก็ต้องสูบทิ้ง แต่ถังบำบัดของ
เสียนั้น จะใช้ จุลินทรีย์ในการย่อยสลายแทน ไม่ต้องสูบ
ในการกำหนด ขนาดของถังนั้น จะคำนวณ จากปริมาณของผู้อาศัยในบ้านนั้น
โดย คิดจากปริมาณการใช้น้ำที่ 200 ลิตร/คน/วัน
ส่วนการทิ้งน้ำจากน้ำที่ใช้แล้วส่วนอื่นโดย ปกติ จะต้องติดตั้ง ถังดักขยะ-ไขมัน
ก่อนที่จะระบายสู่ ทางระบายน้ำสาธารณะ เพื่อสุขอนามัยที่ดีของสิ่งแวดล้อม

หมวดงานสถาปัตยกรรม(หลังคา)

หลังคามีหน้าที่ คลุมแดดฝน และมีหลากหลายชนิดและรูปแบบ ให้เลือกใช้
ตามความเหมาะสม และงบประมาณ
โดยแบ่งตามลักษณะของวัสดุได้ดังนี้ครับ
1/ กระเบื้องลอนคู่ มีหลายสี ปัจจุบันได้พัฒนาการเคลือบสีเพื่อคุณสมบัติในการสะท้อน
ความร้อน การพัฒนาขนาด เช่นความยาว ของแผ่น ได้ถึง 4.80ม.
เพื่อรองรับการใช้งาน ได้ดียิ่งขึ้น
2/ กระเบื้องซีเมนต์เคลือบสี หรือกระเบื้องโมเนียซึ่งต่อมามีการพัฒนาทั้งรูปแบบเป็น
แผ่นเรียบและตัววัสดุเป็นเซรามิค ราคาก็แตกต่างกันตาม รูปแบบ
3/ หลังคาเมทัล ชีท เป็นแผ่นเหล็กรีดลอน ซึ่งสามารถ รีดความยาวได้ตามความต้องการ
สามารถสั่งทำฉนวนกันเสียงและความร้อนได้หรือพ่นฉนวนโฟมหน้างานก็ได้
แต่ต้องดูเรื่องความหนาด้วยอย่ามองเรื่องราคาถูกอย่างเดียว
4/ หลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านสไตล์โมเดอร์นแต่ ถ้าสัง
เกตให้ดี พวกงานอุโบสถ ของวัด บางทีก็เป็น คอนกรีตเสริมเหล็กแล้วปิดกระเบื้องทับอีกครั้ง

หมวดงานสถาปัตยกรรม(ฝ้าเพดาน)

ฝ้าเพดาน ทำหน้าที่ปิดบังส่วนที่ไม่น่าดู ของส่วนที่อยู่บนเพดาน
เช่นงาน ระบบท่อไฟฟ้า-ประปา โครงสร้างอาคารที่ไม่ต้องการโชว์
ป้องกันการถ่ายเทอุณหภูมิความร้อนจากใต้หลังคา และเพื่อประสิทธิภาพ
ในการป้องกันความร้อน สามารถ ปูฉนวนกันความร้อนอีกชั้น ก็ได้
ปัจจุบัน ฝ้าที่นิยมใช้กับบ้านหรืออาคารทั่วไป มีดังนี้
1/ ฝ้ายิปซั่มบอร์ดโครงเคร่า ที-บาร์ ราคาต่อตารางเมตรค่อนข้างถูก
แต่ไม่ค่อยสวยเนื่องจาก ต้องเห็นโครงวิ่งเป็นตาราง ประมาณ 0.60ม.x0.60ม.
หรือ 0.60ม.x1.20ม. ปกติจะใช้งานภายใน
2/ ฝ้ายิปซั่มบอร์ดชนิดฉาบเรียบ เป็นที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากมีการ
ฉาบปิดรอยต่อ มองดูเรียบสวยเป็นผืนเดียวกันทั้งหมด แต่ก็ควรต้องมี
การทำ ช่องเซอร์วิสไว้ในจุดที่เหมาะสม สำหรับดูแลงานระบบต่างๆด้วย
อีกทั้งยังสามารถทำหลืบซ่อนหลอดไฟ ฝ้าหลุมได้อีก
3/ งานฝ้าภายนอก มีทั้งไม้จริง,ไม้สังเคราะห์,upvc
งานฝ้าภายนอก ปกติ ควรจะต้องมีช่องระบายอากาศ เพื่อให้มวลอากาศร้อน
ใต้หลังคาดันตัวออกมา ทำให้มีการไหลเวียนของอากาศ
แต่ต้องไม่ลืมกรุตาข่ายกันแมลง เข้ามาในบ้านด้วยนะครับ

หมวดงานสถาปัตยกรรม(ประตู-หน้าต่าง)

องค์ประกอบที่สำคัญ ของอาคารอีกอย่างคือ ประตูและหน้าต่าง เพราะใช้สำหรับ
เป็นทางเข้าออกและเชื่อมต่อกับภายนอกอาคาร วัสดุที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ก็มีดังนี้
1/ ประตู หน้าต่างไม้ มีทั้ง แบบทึบและมีลูกฟัก กระจก
ส่วนใหญ่ มีข้อควรระวังคือ เวลาที่ สถาปนิกระบุ spec ในแบบมักจะเขียนว่า
วงกบไม้เนื้อแข็ง คำว่าไม้เนื้อแข็งนั้น ค่อนข้างกว้าง ควรระบุให้ชัดเจน
ไปเลยว่าเป็น ไม้อะไร เช่นไม้เต็ง,ไม้แดง,ไม้ประดู่ เพราะเรื่องเล็กๆเหล่านี้
อาจจะต้องมานั่งทะเลาะกับผู้รับเหมาก็ได้
2/ ประตู หน้าต่าง อลูมิเนียม วัสดุชนิดนี้เข้ามาทดแทนงานไม้นานแล้ว
ปัจจุบัน ก็เป็นที่ยอมรับ ของเจ้าของบ้านและอาคาร ไปแล้ว
ข้อดีของงาน ประตูหน้าต่างอลูมิเนียมคือ ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
และความชื้นได้ดี ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการ บวม บิดงอ
ส่วนข้อเสีย ก็เป็นในเรื่องอายุการใช้งานของ วัสดุยาแนว ซึ่งพอหมดอายุ
ก็จะมีปัญหาเรื่องรั่วซึมตามมา
3/ ประตู หน้าต่าง upvc จริงๆ แล้วก็คือ พลาสติกประเภทหนึ่งนั่นเอง
ซึ่ง พัฒนาคุณสมบัติของวัสดุ ให้ทนทานต่อ สภาพการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ
ข้อดีคือ สามารถ ออกแบบวงกบให้เป็นบานโค้งได้ดีกว่าอลูมิเนียม
แต่ต้องเช็ครัศมี ต่ำสุดของการดัดโค้งจากผู้ผลิตก่อนนะครับ

หมวดงานสถาปัตยกรรม(ผิวพื้น)

วัสดุผิวพื้น ทำหน้าที่รองรับการสัญจร ของผู้ใช้อาคาร ซึ่งก็มีหลากหลายชนิดและรูปแบบ
ที่มีการผลิตออกมาตอบสนองการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น กระเบื้องปูพื้น,ทรายล้าง,ปาร์เก้
ไม้ลามิเนต,หินธรรมชาติต่างๆ หรือแม้แต่ผิวซีเมนต์ขัดมันก็ยังได้
สำหรับบ้านขนาดกลางหรือบ้านจัดสรรในปัจจุบัน มักจะนิยมใช้ กระเบื้อง แกรนิโต้
สำหรับพื้นชั้นล่าง ในส่วนพื้นที่แห้ง เนื่องจาก รอยต่อระหว่างแผ่น สามารถปูชิดได้
ให้ความรู้สึกเหมือนปูหินธรรมชาติ สำหรับพื้นที่เปียก เช่นห้องน้ำหรือส่วนซักล้าง
นิยมใช้ วัสดุผิวหยาบเพื่อกันลื่น
ในส่วนของชั้นบนนิยมใช้ ไม้พื้นลามิเนต เนื่องจากวัสดุผิวพื้นชนิดนี้ ค่อนข้างที่จะไม่ถูก
กันกับความชื้น แต่ในเรื่องของความสวยงามนั้นไม่แพ้ ไม้ธรรมชาติ
ส่วนข้อดีของ อีกอย่าง ของไม้พื้นลามิเนต คือ ความทนทานต่อรอยขีดข่วนของผิว
ดีกว่าไม้ธรรมชาติเสียอีก
ยังมี วัสดุผิวพื้น อีกมากมาย ให้เลือกใช้ ขอให้พิจารณา ตามความเหมาะสมในการใช้งาน
และงบประมาณครับ

หมวดงานสถาปัตยกรรม(ผิวผนัง)

งานส่วนผิวผนัง ถ้าจะเปรียบเทียบก็คงจะเปรียบได้กับเปลือกหรือผิวหนังที่ห่อหุ้ม
ตัวอาคาร เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆทั้งในเรื่องของความสวยงาม และความเรียบร้อย
ปัจจุบัน มีวัสดุผิวผนังที่ถูกผลิตออกมาเพื่อรองรับและตอบสนองความต้องการ
ของเจ้าของอาคารอย่างหลากหลาย
ที่ง่ายที่สุด และเป็นที่นิยมคงหนีไม่พ้น งานฉาบปูนเรียบทาสี หรือในขณะนี้ งานฉาบ
ผิวขัดมัน ก็กำลังมาแรง ในรูปแบบงาน โมเดอร์นทรอปิคอล (modern tropical)
งานกรุผนังไม้สังเคราะห์ งานกรุ แผ่นคอมโพสิท งานปูกระเบื้องกรุหินธรรมชาติ
ทั้งนี้เราสามารถ เลือกใช้ วัสดุผิวผนังต่างๆเหล่านี้ ให้เหมาะสมกับการใช้งานและ
บุคลิก ของอาคารและที่สำคัญที่สุดงบประมาณ ในการก่อสร้างด้วย
บางครั้งเราสามารถ ดัดแปลง วัสดุผิวผนังให้ประหยัดงบประมาณลงได้เหมือนกัน
เช่น ต้องการจะกรุผนังด้วยไม้สังเคราะห์ เราอาจจะใช้วิธีฉาบเรียบเซาะร่อง
เลียนแบบก็ได้
วัสดุผิวผนังในท้องตลาด มีมากมายหลายราคา ยังไงก็เลือกใช้ให้เหมาะสมกับ
งบประมาณในกระเป๋านะครับ

หมวดงานสถาปัตยกรรม(ผนัง)

งานผนัง คืองานในส่วนของการแบ่งพื้นที่ใช้สอยของอาคาร โดยวัสดุที่นำมาใช้มีหลายชนิด
เช่น อิฐมอญ,อิฐมวลเบา,ผนังหล่อคอนกรีต ทั้งแบบหล่อในที่และผนังคอนกรีตหล่อสำเร็จ
ซึ่งคอนกรีตหล่อสำเร็จ เหมาะสมกับพวกงานโครงการหมู่บ้าน หรืออาคารพวกคอนโดมิเนียม
หรืออพาร์ทเมนท์มากกว่า เนื่องจากสามารถใช้แบบหล่อ(mold) ได้คุ้มค่าเพราะราคาแพง
นอกจากนี้ยังมีผนังที่เรียกว่า ผนังเบา เช่นผนังยิปซั่ม,ผนังไม้จริง,ผนังไม้สังเคราะห์ ซึ่งต้อง
เลือกใช้ให้ดี เนื่องจากผนังบางชนิด ไม่สามารถใช้เป็นผนังภายนอกได้
ในส่วนของผนังก่ออิฐนั้น จะต้องมีการทำ เสาเอ็นและทับหลังด้วยและต้องมีเหล็กหนวดกุ้ง
สำหรับยึดแผงก่ออิฐ เพื่อป้องกันผนังล้ม
ยังมีรายละเอียด ของงานผนังอีกพอสมควร ถ้าหากมีข้อสงสัยท่านสามารถ ฝากคำถามไว้
ที่ส่วนแสดงความคิดเห็น ท้ายบทความได้นะครับ ยินดีให้คำตอบครับ แต่ถ้าเรื่องไหน
ผมไม่มีคำตอบก็พร้อมที่จะหาข้อมูลมาให้ครับ

หมวดงานสถาปัตยกรรม

ในหมวดงานสถาปัตยกรรมนั้น เป็นส่วนของงาน
ที่กำหนด รูปแบบและหน้าตาของอาคาร ที่ชัดเจน
ว่า วัสดุที่ตกแต่งที่ใช้ เป็นชนิดใด เพื่อให้อาคารมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตรงกับ สไตล์ของอาคารนั้นๆ
ทีนี้เราลองมาดูกันว่า หมวดงานสถาปัตยกรรม
มีอะไรกันบ้าง ตามบทความต่อจากนี้

หมวดโครงสร้าง(หลังคา)

หน้าที่ของหลังคา คือคลุมแดดฝน มีหลายรูปแบบ
และหลายรูปทรง หลายวัสดุ ในที่นี้ จะพูดถึง
โครงสร้างหลังคา ปัจจุบันนิยมใช้ โครงเหล็ก
เช่นเหล็กกล่อง เหล็กตัว C และเริ่มมีการใช้โครงหลังคา สำเร็จรูป เป็นเหล็กอาบสังกะสี
และหลังคาอีกแบบก็คือ หลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก
หรือหลังคา slab ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบ้าน สไตล์โมเดอร์น แต่คำถามที่จะ พบบ่อยๆ สำหรับหลังคาทรงนี้
ก็คือ มันจะรั่วมั๊ย มันจะร้อนมั๊ย แน่นอนครับ มันก็มีโอกาส เป็นอย่างที่กลัวกันถ้าทำไม่ดี
หลังคาพวกนี้ต้องมี การทำระบบกันซึมที่ดี และทำ
slope ป้องกันน้ำขัง ส่วนเรื่องร้อนก็ต้อง พิจารณา
การใช้ฉนวนกันความร้อนและ การระบายมวลอากาศ
ร้อนระหว่างเหนือฝ้ากับใต้หลังคา

หมวดโครงสร้าง(เสา)

หน้าที่ของเสา คือรับน้ำหนัก จากคานแล้วถ่ายลงสู่
ฐานราก ปัจจุบัน มีทั้งคอนกรีตเสริมเหล็กและเหล็ก
รูปพรรณ ในกรณีที่เป็น เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก
เหล็กเสริมในเสานั้น เส้นผ่านศูนย์กลาง ต้องไม่น้อย
กว่า 12 มม. ตามข้อกำหนดของ วิศวกรรมสถาน
แห่งประเทศไทย
เสริมนิดนึงครับ เสา ค.ส.ล. ขนาด 0.15x0.15x3.00ม.
เสริมเหล็กเส้นกลม ขนาด 12 มม. สามารถรับน้ำหนัก
ตามแนวแกน ได้ 9 ตันกว่าๆ เชียวนะ
ในขณะที่ เสาชั้นบน ของบ้าน 2 ชั้น มีน้ำหนัก ถ่ายลงเสา ประมาณ 3 ตัน (ค่าเฉลี่ยต่อต้น)

หมวดโครงสร้าง(พื้น)

คงไม่ต้อง อธิบายหน้าที่ของพื้นนะครับแต่จะขอพูดถึง ประเภท ของพื้น ดีกว่า ทั่วๆไปมีอยู่ 2ประเภทครับ
คือ 1/ พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ก็คือ พื้นที่ต้องผูกเหล็ก
และเข้าแบบ เทคอนกรีต บางครั้งช่างจะเรียกว่า slab
โดยจะใช้ พื้นชนิดนี้ในจุดที่อาจจะเกิดการรั่วซึม
ของน้ำ เช่น ระเบียง,เฉลียงหรือห้องน้ำ
2/ พื้นสำเร็จรูป มีหลายลักษณะ แต่ที่นิยมใช้กับ
งานบ้าน จะเป็นชนิดท้องเรียบ สามารถวางลงบนหลัง
คานได้เลย แต่ต้องมีการเทคอนกรีตทับหน้า(topping)
ความหนา ประมาณ 5 ซ.ม.และก่อนเท ต้องวางเหล็ก
เสริมกันร้าว ซึ่งปัจจุบัน มักจะใช้ตะแกรงเหล็กสำเร็จรูป
(wire mesh) แทนการผูกเหล็กเสริม
พื้นชนดนี้ เหมาะกับพื้นที่ภายใน เช่น ห้องนอน,รับแขก

หมวดโครงสร้าง(คาน)

โครงสร้างคาน ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากพื้นและผนัง
แล้วถ่ายลงไปยังเสาอีกทอดหนึ่ง โดยทั่วไป
ถ้าหากเป็นคานคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็มเสริมที่ใช้
จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 12 มม.
ตามข้อกำหนดของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
คอนกรีตที่ใช้ กำลังอัด ก็ไม่ควรต่ำกว่า 240 ksc
ปัจจุบัน บ้านบางหลัง ก็มีการใช้ เหล็กรูปพรรณ
มาทำคานก็มี

หมวดโครงสร้าง(เสาตอม่อ)

เสาตอม่อ คือเสาที่รับการถ่ายน้ำหนักจาก คานชั้นล่าง
ลงสู่ ฐานรากบางท่านเข้าใจผิดเรียกฐานรากว่าตอม่อ
ประโยชน์ของ เสาตอม่อก็คือ เป็นตัวปรับระดับความ
สูงต่ำ ของระดับพื้นบ้าน ให้ได้ตามระดับที่กำหนดใน
แบบก่อสร้าง ครับหน้าที่ของเสาตอม่อก็คงจะมีสั้นๆ
เท่านี้ครับ

หมวดงานโครงสร้าง(ต่อ)

ถัดมาจากงานเสาเข็ม ก็จะมาถึงงาน ฐานราก
(footting) ค่อนข้างจะเป็นส่วนที่สำคัญ มาก ของ
งานโครงสร้าง เพราะ เป็นตัวรับนำหนัก จากเสาบ้าน
และส่งผ่าน ไปยังเสาเข็ม ในปัจจุบัน วิศวกรมักจะ
ออกแบบแบบเป็นรูปลูกบาศก์ ขนาด ตั้งแต่ประมาณ
0.40x0.40x0.40ม. ไปจนถึง 0.80x0.80x0.80ม.
เนื่องจาก บางครั้ง เสาตอม่อ กับเสาเข็ม อาจมีการ
เยื้องศูนย์กัน ทำให้เกิด แรงเฉือน ซึ่งจะทำให้ ฐาน
รากมีการพลิกตัว หรือฉีกได้ แต่สำหรับในบางพื้นที่
หรือบางจังหวัด ที่มีสภาพดิน เป็น หิน หรือ ดินลูกรัง
วิศวกรอาจ ออกแบบเป็น ฐานรากแบบแผ่ก็ได้ ไม่ต้องตอกเสาเข็ม โดย ให้ฐานรากถ่ายน้ำหนัก ลงดินโดยตรง เพราะ ตอกเสาเข็ม ก็ตอกไม่ลงอยู่ดี
ในส่วน ของคอนกรีต ก็ควรใช้ คอนกรีตผสมเสร็จจะดีกว่า ผสมโม่ เนื่องจาก ส่วนผสมต่างๆจะได้มาตรฐานกว่า แต่ในบางพื้นที่ ก็อาจจะไม่มีบริการก็ลำบากหน่อย
ในส่วนของงานฐานราก ก็คงทราบ หน้าที่คร่าวๆ กันแล้ว อธิบายยาวกว่านี้เดี๋ยวจะเบื่อกันก่อนครับ

การแบ่งหมวดหมู่ ของงานสร้างบ้าน

โดยปกติงานก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นงานสร้างบ้าน
หรือ ไม่ว่าจะเป็น งานก่อสร้างอาคารอะไรก็ตาม
จะมีการ แบ่งหมวดหมู่ ของงานดังนี้
1/ หมวดโครงสร้าง
2/ หมวดงานสถาปัตยกรรม
3/ หมวดงาน ระบบ
4/ หมวดงานเบ็ดเตล็ด
ซึ่งในแต่ละหมวดหมู่ ก็จะมีหมวดงานย่อยๆดังนี้ครับ
หมวดโครงสร้าง ประกอบด้วย
1/ งานเสาเข็ม มีทั้ง ชนิด เสาเข็มตอกและเสาเข็มเจาะ
การพิจารณา ว่าจะใช้เสาเข็มชนิดใดนั้น มีเกณฑ์
คร่าวๆคือ ดูว่าถนนหรือ ทางที่จะเข้า สถานที่ก่อสร้าง
มีความกว้าง เพียงพอสำหรับการขนส่งเสาเข็มหรือไม่
โดยปกติ เสาเข็ม ที่ใช้ในพื้นที่กรุงเทพฯ นั้นความยาวประมาณ 18-20 เมตร ขึ้นอยู่กับความลึก ของชั้นดินแต่ละพื้นที่ และข้อพิจารณา อีกข้อก็คือ
ถ้า มีอาคารข้างเคียง อยู่ใกล้จุด ตอกเสาเข็ม น้อยกว่า 4 เมตร ก็ควรใช้เข็มเจาะแทน เนื่องจากเสาเข็มตอก
อาจสร้างความเสียหายกับ อาคารข้างเคียงได้
แต่ขอบอกไว้นิดนึง ว่าค่าใช้จ่าย เสาเข็มเจาะสูงกว่าเสาเข็มตอก ประมาณ 40-50% นะครับ