เชื่อเหลือเกินว่า ทุกๆคน อยากมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังในชีวิต
จะหลังใหญ่ หลังเล็ก จะสไตล์ไหน ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเฉพาะบุคคล
เช่น งบประมาณ ขนาดหรือ จำนวนสมาชิกในครอบครัว
ในที่นี้ จะขอกล่าวถึง ท่านที่ต้องการจะปลูกบ้านสักหลัง
แต่ไม่รู้จะ เริ่มต้น อย่างไร ลองติดตาม บทความในบล็อกนี้
ดูนะครับ เผื่อว่าจะมีข้อมูล อะไร ที่จะพอช่วยเหลือท่านได้บ้าง
ลองติดตามดู นะครับ
(ท่านสามารถ ฝากคำถาม คำติชม ข้อเสนอแนะ ในท้ายบทความได้ครับ
เรื่องไหนที่ผมไม่ทราบ ผมจะค้นคำตอบมาให้ เพื่อพัฒนาตัวผมเองด้วยครับ)

การขออนุญาตก่อสร้าง


หลังจากที่ได้แบบบ้าน ที่ตรงความต้องการแล้ว
ขั้นตอนต่อไป คือการ การขออนุญาตก่อสร้าง
ซึ่ง ท่านจะต้องเตรียม เอกสารดังนี้ครับ
1/แบบก่อสร้าง จำนวน 5 ชุด
2/สำเนา บัตรประชาชน ผู้ขออนุญาตก่อสร้าง
3/สำเนาบัตรประชาชน เจ้าของที่ดิน
(ในกรณีที่กินเป็นของผู้อื่น) พร้อมหนังสือยินยอม
ของเจ้าของที่ดิน
4/สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าตัวจริง
5/หนังสือรับรองของวิศวกร พร้อมสำเนาใบ
ประกอบวิชาชีพ
6/รายการคำนวณโครงสร้างอาคาร
7/หนังสือยินยอมของผู้ควบคุมงานพร้อมสำเนา
ใบประกอบ วิชาชีพสถาปนิก
กรณี พื้นที่ใช้สอย ของอาคารเกิน 150 ตารางเมตร
8/หนังสือยินยอมของผู้ควบคุมงานพร้อมสำเนาใบ ประกอบวิชาชีพ วิศวกร กรณีอาคาร 3 ชั้นขึ้นไป
9/ชุดเอกสารขออนุญาตก่อสร้าง พร้อม กรอกรายละเอียด ต่างๆให้ครบ
โดย ปกติผู้ให้บริการบางรายจะดำเนินการ ขออนุญาต ก่อสร้างให้ท่านด้วย
ซึ่ง ขั้นตอนในการออกใบ อนุญาตก่อสร้าง ใช้เวลา ไม่เกิน 45 วัน หากไม่ติดปัญหาอะไร

หาแบบบ้าน


ปัจจุบัน แบบบ้านมีมากมาย หลายหลากสไตล์ให้เลือก สามารถ search ได้จาก internet หรือ
website ของผู้ให้บริการ ทั้งบริษัทรับ ปลูกสร้างบ้าน,บริษัท ออกแบบบ้าน,สถาปนิกอิสระ,บริษัท ขายแบบบ้านสำเร็จรูป
ทั้งนี้ ท่านควรสอบถาม อัตราค่าบริการและขอบเขต
ของการบริการให้ดีครับ โดยเฉพาะ แบบบ้าน สำเร็จรูป
หากที่ดินของท่านอยู่ใน พื้นที่ ที่จะต้องขออนุญาต
ก่อสร้างกับทาง ราชการ แบบที่จะยื่นนั้น จะต้องมีเอกสาร เพิ่มเติมอีกดังนี้ครับ
1/แบบผังบริเวณ เพิ่มขึ้นอีก 1 แผ่น ซึ่งแบบแผ่นนี้
จะแสดงแนวเขตที่ดิน,ตำแหน่งอาคารในที่ดินและระบบ
สุขาภิบาลของอาคาร
2/รายการคำนวณโครงสร้าง อาคารพร้อมหนังสือรับรองและสำเนาใบ ประกอบวิชาชีพของวิศวกร
ผู้คำนวณ
3/หนังสือยินยอมของผู้ควบคุมงาน ของสถาปนิกและวิศวกร ตามชนิดและขนาด ของอาคารนั้น
ท่านต้อง สอบถามให้ชัดเจน ว่ามีเอกสาร เหล่านี้ด้วยหรือไม่ รวมอยู่ในค่าบริการหรือยัง
ถ้าไม่มี ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกเท่าไหร่ บางท่านไม่ทราบแล้วสั่งซื้อ แบบสำเร็จรูปมา ปรากฎว่า
ขออนุญาตก่อสร้างไม่ได้ ต้องไปเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม มากกว่าราคาแบบอีก แทนที่จะลดค่าใช้จ่าย
กลายเป็น งบบานปลายตั้งแต่เริ่มต้น
อย่างไรก็ตามยังมีผู้ให้บริการ ที่ดีๆ อยู่มากมาย ลองติดต่อ สอบถามข้อมูลกันให้ชัดเจนครับ

ที่ดินที่จะปลูกสร้าง


แน่นอน ครับ การจะปลูกบ้านสักหลังต้องมีที่ดินก่อน
ที่ดินนี้ อาจจะ ไม่ได้เป็นที่ดินของท่านเองก็ได้
อาจจะเป็น ที่ดินเช่า ที่ดินของ พ่อแม่ หรือผู้อื่น
พูดง่ายๆว่า ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดิน
แปลงนั้น ในกรณีนี้ หากที่ดินแปลงที่ว่า อยู่ใน
กรุงเทพฯ หรือในเขตเทศบาล ซึ่งท่านจะต้อง
ยื่น ขออนุญาตก่อสร้าง กับหน่วยราชการ
จะต้องมีหนังสือ ยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดิน
จากเจ้าของที่ดินด้วย โดยท่าน จะเป็น
ผู้ขออนุญาต ก่อสร้าง หรือเจ้าของอาคาร เท่านั้น
ทั้งนี้ หากในที่ดิน แปลงเดียวกัน มีอาคารเดิม
ก่อสร้างอยู่ก่อนแล้ว ต้องดู ระยะห่าง ระหว่าง
อาคารเก่ากับอาคารที่จะก่อสร้างใหม่ด้วยครับ
กฏหมาย ควบคุมอาคาร จะกำหนด ระยะห่าง ระหว่างอาคาร ตามชนิดและขนาดของอาคาร อย่างชัดเจน
ระยะห่าง ของอาคารกับแนวเขตที่ดิน ก็มีกำหนดไว้เหมือนกัน ลองศึกษา ดูก่อนนะครับ